ความเป็นมาของสถานการณ์ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งในสังคมไทย
ในปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีปัญหาเกิดขึ้นมากมายในสังคมไทยและปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งและเด็กกำพร้านับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเนื่องจากในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไทพบว่าสถานสงเคราะห์ได้รับเด็กที่ถูกทอดทิ้งเข้ามาเลี้ยง เฉลี่ยแล้ว 44-45 คนต่อเดือน โดย 80% ถูกส่งตัวจากโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดในภาคกลาง อีก 20% รับตัวมาจากตำรวจหรือกลุ่มที่พ่อแม่ทิ้งไว้กับคนรับจ้างและสถานที่สาธารณะอื่น ๆ ทั้งนี้จากการสืบค้นพบว่าเด็กที่ถูกทอดทิ้งในปัจจุบันเกิดจากแม่ที่เป็นวัยรุ่น วัยเรียนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ยัง
เรียนไม่จบ สาวโรงงานที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ และกลุ่มวัยรุ่นที่ติดยาเสพติด
การพัฒนาสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมชนบทซึ่งบางแห่งได้เปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองและขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาความแออัดในสังคมเมืองมากขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำรงชีวิตโดยมีแนวโน้มไปในทางวัตถุนิยมและพึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวและมีขนาดเล็กลง ครอบครัวเป็นพื้นฐานแห่งการถ่ายทอดความสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่ดี ในความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่าง พ่อ แม่ ลูก หรือพี่น้องจะเต็มไปด้วยความห่วงใย ความสนิทสนมเอื้ออาทร ความผูกพันด้วยความรักและความเข้าใจ แต่ปัจจุบันความผูกพันสนิทสนมด้วยความรักความห่วงใยของครอบครัวเริ่มเหือดหายและค่อย ๆ เจือจางลง ต่างคนต่างทำงานนอกบ้าน เรียนหนังสือนอกบ้าน คนในบ้านเริ่มใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันน้อยลง ความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างกันลดลง





เว็บไซต์นี้ จัดทำโดย นักศึกษา คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
เป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษารายวิชา GES2203 ความรู้เท่าทันสารสนเทศ
ประเด็นการศึกษา ปัญหาเด็กที่ถูกทอดทิ้งในสังคมไทย